top of page

นิทรรศการศิลป์แนะนำ

  เชิญชมผลงาน:
อ.อิทธิพล ตั้งฉโลก

18/Aug/2015 - 21/Feb/2016

“นามธรรม: สัจจะแห่งศิลปะ” อิทธิพล ตั้งโฉลก (ขยายเวลาจัดแสดง)

วันที่ : 18 สิงหาคม - 21 กุมภาพันธ์ 2559สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8

จัดโดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


สนับสนุนโดย บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ มูลนิธิเอสซีจี
พิธีเปิด 21 สิงหาคม 2558 เวลา 18.00 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1

 

ผลงานศิลปะเกือบ 100  ชิ้น  ทั้งเก่า ใหม่และที่ยังไม่เคยจัดแสดงมาก่อน  จากทุกช่วงเวลากว่า 50  ปี ในชีวิตการทำงานของ "อิทธิพล ตั้งโฉลก" เป็นหนึ่งในศิลปินร่วมสมัยของไทยจำนวนน้อยที่คงยืนหยัดบนเส้นทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนามธรรมอย่างมั่นคงและมั่นใจ 
 

นิทรรศการครั้งนี้รวบรวมผลงานของอิทธิพล ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีและปริญญาโท ผลงานจากนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรก “Recent Paintings” (2534), “สีสันแห่งแสง” (2543), “วัตถุแห่งจิต” (2545), “จิตวิญญาณบรรพบท” (2549), “ปัญญาญาณและปรีชาญาณ” (2551), “อักขระ” (2556),  รวมถึงผลงานชุดล่าสุดที่จะนำมาแสดงเป็นครั้งแรก “การเดินทางของเส้นพากินสัน” (2557-2558) 
 

เส้นทางของการทำงานสร้างสรรค์ของอิทธิพลเริ่มต้นที่การฝึกฝนเชิงเทคนิคภาพพิมพ์ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ซึ่งช่วงเวลานั้นยังไม่ได้รู้จักกับศิลปะนามธรรมอย่างเป็นทางการ   เทคนิคหลักของภาพพิมพ์ที่อิทธิพลศึกษาได้แก่ ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (Silkscreen) ภาพพิมพ์ร่องลึก (Etching) ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) และภาพพิมพ์หิน (Lithograph)  เทคนิคทั้งสี่นำมาสู่แนวเรื่องของการทำงานที่แตกต่างกัน ได้แก่ รูปทรงอินทรีย์ของเมล็ดพืช ต้นไม้ในเมือง ผนังและกำแพง และรูปทรงมนุษย์กับพื้นที่ว่าง   อิทธิพลใช้วิธีการค่อยๆตัดทอนรูปทรงเหมือนจริงจนกลายไปสู่ความเป็นนามธรรม จากเมล็ดพืชที่สามารถรับรู้ได้จนกลายเป็นรูปทรงเรขาคณิต  จากพุ่มไม้ใหญ่จนเป็นเส้นอิสระ และจากรูปทรงของมนุษย์จนกลายเป็นกลุ่มเศษเสี้ยวของกลุ่มรูปร่างเรขาคณิต เป็นต้น  และในเวลาต่อมาเทคนิคพื้นฐานก็นำไปสู่การค้นคว้าหาเทคนิคใหม่ๆ เฉพาะตนซึ่งได้กลายเป็นเนื้อหาของงานด้วย
 

หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี  อิทธิพลได้เดินทางไปศึกษาปริญญาโทต่อที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รู้จักศิลปะนามธรรมอย่างเป็นทางการ   อิทธิพลพบว่า แนวทางปฏิบัติเดิมของตนนั้นสามารถเชื่อมต่อกับปรัชญาของศิลปะนามธรรมได้อย่างลงตัว   การเรียน การชมผลงานในแกลเลอรี่และพิพิธภัณฑ์ รวมถึงการเดินทางท่องเที่ยวในสหรัฐอเมริกาได้เปิดประสบการณ์และทัศนคติซึ่งส่งผลต่อการทำงานศิลปะในเวลาต่อมาเมื่อกลับถึงเมืองไทย 
 

อิทธิพลได้พัฒนาการสร้างสรรค์จิตรกรรมในแนวทางนามธรรมให้มีลักษณะเป็นตะวันออกมากขึ้น จนเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทยและนานาชาติ  ดังเห็นได้จากการได้รับรางวัลการประกวดศิลปกรรมในต่างประเทศและการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติอยู่หลายครั้ง จนได้รับเกียรติให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมในปีพ.ศ. 2522

- See more at: http://www.bacc.or.th/event/%E2%80%9CAbstract-The-Truth-of-Art%E2%80%9D-Ithipol-Thangchalok-.html#sthash.OJWKv1eG.dpuf

พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
   MOCA Museum of     Contemporary Art

     จัดแสดงนิทรรศการงานศิลป์ให้ชมตลอดทั้งปี

หอศิลป์ MOCA

 

พิพิธภัณฑ์ที่เก็บบันทึกรวบรวมประวัติศาสตร์ทางศิลปะไทยที่น่าสนใจ เกิดขึ้นจากรากฐานทางวัฒนธรรมอันยาวนานและองค์ความรู้ทางศิลปะแบบสากล โดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประติมากรชาวเมืองฟลอเรนช์ ประเทศอิตาลี อันก่อให้เกิดเป็นงานศิลปะไทยร่วมสมัย ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ว่าประเทศไทยเป็นชาติที่มีอารยะ

งานศิลปะที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ขณะนี้เป็นผลงานทัศนศิลป์ จากศิลปินหลายรุ่น ซึ่งทุกๆ ผลงานถือเป็นงานระดับชั้นครู จะยืนหยัดได้ถึงความมุ่งมั่นของศิลปินไทย ในการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ไทยอย่างเหนียวแน่น

bottom of page