top of page

Planetary Alignment and earthquakes

บทความต่อไปนี้ตีพิมพ์ใน Facebook ของ "หมอแดน แปลดาว" เมื่อ 23 ตุลาคม 2559 เวลา 16:54 น.

ตอนที่ 3) ปรากฏการณ์ดาราเรียงรายและการเกิดแผ่นดินไหว

Planetary Alignment and earthquakes(惑星の配列による地震)Part III

ต้นปีนี้เมื่อวันที่ 20 ม.ค. - 20 ก.พ. 2559 ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ประชาสัมพันธ์ไว้ว่าจะเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยดาวเคราะห์จะเรียงตัวกันทั้งหมด 5 ดวงบนท้องฟ้าได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์

ทีนี้เรามาดูกันว่าในช่วง 20 ม.ค. 59 – 20 ก.พ. 59 ที่เกิดปรากฎการณ์ดาราเรียงรายนั้นมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในโลกเราจริงหรือไม่ เมื่อตรวจสอบดูก็พบว่า “มีเกิดขึ้นจริงๆ” ที่ประเทศไต้หวันและมีผู้เสียชีวิตนับร้อยคนตามเนื้อข่าวดังต่อไปนี้:

แผ่นดินไหวในประเทศไต้หวันเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 03:57 น. ตามเวลาในประเทศไต้หวัน (UTC+08:00) แผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างความเสียหายในพื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะในเมืองไถหนันซึ่งมีอาคารหลายแห่งพังถล่ม มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 116 คน บาดเจ็บ 550 คน

จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ระหว่างเขตเทศบาลพิเศษเกาสฺยงและเทศมณฑลผิงตง ทางตอนใต้ของประเทศไต้หวัน ห่างจากเมืองผิงตง เกาสฺยง และไถหนัน ราว 28 กิโลเมตร 46 กิโลเมตรและ 48 กิโลเมตรตามลำดับ หน่วยงานธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (USGS) วัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ 6.4 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 23 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นทะเลฟิลิปปินส์กับแผ่นยูเรเชีย ถือว่าเป็นพื้นที่หนึ่งที่แผ่นธรณีภาคมีความไม่มั่นคงและมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวระดับรุนแรงได้

ดังนั้นอาจเป็นไปได้หรือไม่ว่า “การที่ดาราเรียงราย” แต่ละครั้งจะก่อให้เกิดพลังงานบางอย่างจากทฤษฎีความถี่สั่นพ้อง Resonance ที่หมอแดน แปลดาวได้อธิบายไว้ ซึ่งพลังงานนี้เองเป็นตัวขับเคลื่อนให้รอยเลื่อนของโลกขยับตัวและเป็นที่มาของแผ่นดินไหวในที่สุด

ตอนที่ 4) ปรากฏการณ์ดาราเรียงรายและการเกิดแผ่นดินไหว

Planetary Alignment and earthquakes(惑星の配列による地震)Part IV

ในวันที่ 24 ส.ค. 2559 ที่ผ่านมาได้เกิดปรากฏการณ์ #ดาราเรียงราย ขึ้นโดยเป็นการเรียงตัวของดาวอาทิตย์ (1), ดาวพุธ (4), ดาวศุกร์ (6), ดาวพฤหัส (5) และ Node หรือราหู (8) และยังมีจุดเด่นเพิ่มเติมตรงที่เหล่าดวงดาราดังกล่าวได้มากระจุกตัวรวมกันอยู่ที่ราศีสิงห์ อันเป็นราศีที่ใช้แทน “ประเทศอิตาลี” ตามระบบของโหรพลูหลวง และเบียนอยู่หน้า “ราศีกรกฎ” อันเป็นราศีที่ใช้แทน “ประเทศพม่า” กลุ่มดาวที่กระจุกตัวรวมกันเช่นนี้ในศัพท์โหราศาสตร์ยังเรียกว่า “stellium” หรือ “ดาราล้อมเรือน” อรรถาธิบายคำว่า “stellium” ได้ว่า

A stellium occurs when 4 or more planets fall in a House. This configuration creates too much energy coming into the activities and affairs of that House and nearby. It generates obsessive energy.

ถอดความได้ว่า “ปรากฏการณ์ดาราล้อมเรือน” คือการที่ดาวตั้งแต่ 4 ดวงขึ้นไปมาห้อมล้อมกันภายในหนึ่งเรือนราศีก่อให้เกิดพลังมหาศาลสร้างผลกระทบและเรื่องราวต่างๆ นานาให้แก่เรือนราศีนั้นและเรือนราศีข้างเคียงโดยมันจะสร้างพลังงานส่วนเกินขึ้นมาอย่างเหลือคณานับ

อารมณ์เหมือนคุณปลูกบ้านเรือนไทยงามงดอยู่หลังหนึ่ง เช้าวันนึงตื่นขึ้นมาเจอคนแปลกหน้ามารายล้อม "เรือน" คุณไว้ คนแปลกหน้ากลุ่มนี้ย่อมต้องส่งพลังงานบางอย่างถึงคุณใช่หรือไม่ เช่นเดียวกับ stellium หรือ "ดาราล้อมเรือน" นี่แหละ

เรามาตรวจสอบร่วมกันว่า ณ วันที่ 24 ส.ค. 59 เมื่อเกิดทั้งปรากฏการณ์ #ดาราเรียงราย และ #ดาราล้อมเรือน ขึ้นพร้อมๆ กันจะส่งผลกระทบให้เกิดพลังงานความถี่สั่นพ้องเรโซแนนซ์จนเกิดแผ่นดินไหวได้จริงหรือไม่ ผลคือในวันดังกล่าวโลกเราเกิดแผ่นดินไหวขึ้นถึง 2 แห่งคือ 1) เมืองเปรูเจีย ประเทศอิตาลี และ 2) เมืองพุกาม ประเทศพม่า

เริ่มจากเวลา 3.36 น. ตามเวลาอิตาลี ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 6.2 ที่ตอนใต้ของเมืองเปรูเจีย แรงสั่นสะเทือนไปไกลถึงกรุงโรม ยอดตายพุ่งกว่า 247 ราย หมู่บ้านหายไปกว่าครึ่ง

ส่วนเจดีย์และสถูปโบราณนับ 200 แห่งในพม่ารวมทั้งเจดีย์สุลามณีแห่งเมืองพุกามพังถล่มลงบางส่วนเพราะฤทธิ์แผ่นดินไหว ขนาด 6.8 ในช่วงเย็นวันที่ 24 ส.ค.59 เมื่อเวลา 17.34 น. แผ่นดินไหวที่พม่าก่อแรงสั่นสะเทือนไกลไปถึงอินเดียและตึกสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯ ต่างรู้สึกได้ถึงแรงสั่นนี้จนถึงขนาดต้องสั่งอพยพผู้คนลงจากตึก

ปรากฏการณ์ดาราเรียงรายกำลังฟอร์มตัวกันอยู่ในเดือนต.ค. – กลางเดือนพ.ย. 59 นี้โดยเป็นการเรียงตัวกันของจุด North Node ราหู (8), ดาวพฤหัส (5), ดวงอาทิตย์ (1), ดาวพุธ (4), ดาวศุกร์ (6), ดาวเสาร์ (7), และดาวอังคาร (3) จากนั้นช่วงเดือนธ.ค. 59 จะเป็นการเรียงตัวกันของดาวเสาร์ (7), ดวงอาทิตย์ (1), ดาวพุธ (4), ดาวศุกร์ (6), ดาวอังคาร (3), และจุด South Node หรือเกตุ (9)

ดังนั้นเราจึงยังคงประมาทไม่ได้ไปจนถึงสิ้นปีนี้ ที่ไหนสักแห่งในโลกนี้อาจกำลังได้รับพลังงานสั่นสะเทือนจากคลื่นความถี่พ้องและรอวันสั่งการให้แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ปะทุขึ้นมาอีกภายในปลายปีนี้ก็เป็นได้

A brief but very noticeable earth tremor might occur within the end of this year (2016 ±3mths) in Spain, Italy, Madagascar, Congo, USA, China, New Zealand, Iceland, Japan, Indonesia, Chile, Mexico, the Philippines and South Africa. These are countries most likely to be hit by an earthquake.


bottom of page